001 13731 |
003 ULIBM |
008 180204s||||||||th 000 0 tha d |
082 14 ^a693 ^bท126ท
|
099 2 ^aวิทยานิพนธ์
|
100 0 ^aทรงเกียรติ เที้ยธิทรัพย์
|
245 ^a ^a1111^bกรณีศึกษา หมู่บ้านสาขลา ต.นาเกลือ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ / |
246 0 ^aAppropriate construction technology for residential in Chao Phraya River Estuary :
|
300 ^aก-น, 393 หน้า :^bภาพประกอบ, แผนที่, แผนภูมิ
|
500 ^a พิมพ์ดีด (ถ่ายสำเนา)
|
520 ^aกระแสเทคโนโลยีการก่อสร้างจากต่างชาติมีอิทธิพลต่อประเทศไทยอย่างรวดเร็วและรุนแรงอย่างมาก ทำให้เกิดการดูดซับเทคโนโลยีอย่างไม่รู้เท่าทัน ภูมิปัญญาท้องถิ่นถูกละเลยและถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีการก่อสร้างใหม่โดยไม่ได้คำนึงถึงท้องถิ่น เกิดผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของประเทศ ดังนั้นการศึกษาเทคโนโลยีการก่อสร้างที่เหมาะสมสำหรับอาคารพักอาศัยซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของมนุษย์ โดยใช้พื้นที่ริมน้ำซึ่งเป็นที่ตั้งถิ่นฐานส่วนใหญ่ของประเทศเป็นกลุ่มตัวอย่าง จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและการศึกษาสถาปัตยกรรมของประเทศไทยพื้นที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ได้รับผลกระทบของกระแสน้ำขึ้น-น้ำลงอันเนื่องมาจากน้ำทะเลหนุนเข้าไปตามลำคลอง ส่งผลต่อสถาปัตยกรรมและการก่อสร้างอาคาร วิทยานิพนธ์นี้ใช้ หมู่บ้านสาขลา ต.นาเกลือ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ เป็นกรณีศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเทคโนโลยีการก่อสร้างอาคารพักอาศัย ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างอาคารพักอาศัย วิเคราะห์และสรุปเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการก่อสร้างอาคารพักอาศัย และเสนอแนะแนวทางการใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างอาคารที่เหมาะสมในการออกแบบอาคารพักอาศัย สำหรับพื้นที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา
|
520 ^aวิทยานิพนธ์นี้ประกอบด้วยกระบวนการศึกษา 4 ส่วนดังนี้ ส่วนที่1 การศึกษาปรัชญาของเทคโนโลยี แนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เหมาะสม สร้างเกณฑ์ในการเลือกพื้นที่ศึกษา การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและการสำรวจเบื้องต้นของพื้นที่ศึกษา ส่วนที่ 2 เป็นการสืบค้นในพื้นที่ศึกษา โดยการสำรวจอาคารพักอาศัยและสัมภาษณ์เจ้าของอาคาร 62 ตัวอย่างและสัมภาษณ์ช่างก่อสร้าง 14 ตัวอย่าง เพื่อนำมาวิเคราะห์พัฒนาการของหมู่บ้านสาขลาและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างอาคารพักอาศัย วิเคราะห์เทคโนโลยีการก่อสร้างอาคารพักอาศัยในหมู่บ้านสาขลา ส่วนที่ 3เป็นการอธิบายเทคโนโลยีการก่อสร้างในหมู่บ้านสาขลา โดยแยกอธิบายระดับของเทคนิคการก่อสร้างและระดับวัสดุก่อสร้าง และวิเคราะห์รูปแบบเทคโนโลยีการก่อสร้างอาคารพักอาศัยในหมู่บ้านสาขลา ส่วนที่ 4 เป็นสังเคราะห์เทคโนโลยีการก่อสร้างอาคารพักอาศัยที่เหมาะสมสำหรับหมู่บ้านสาขลา สร้างเกณฑ์ในการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และแนวทางออกแบบอาคารพักอาศัยโดยใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างที่เหมาะสม และนำแบบไปทดสอบเพื่อสรุปผลและเสนอแนะ
|
520 ^aผลการศึกษาพบว่า เทคโนโลยีการก่อสร้างที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยใช้หมู่บ้านสาขลาเป็นกรณีศึกษาคือ การใช้เทคนิคการก่อสร้างระดับกลางเป็นหลักและใช้เทคนิคระดับล่างสนับสนุน ร่วมกับเทคโนโลยีวัสดุทุกระดับ เทคโนโลยีการก่อสร้างอาคารพักอาศัยที่เหมาะสมเกิดจากการก้าวข้ามขั้นของระดับเทคนิคการก่อสร้างกับระดับเทคโนโลยีวัสดุก่อสร้าง โดยมีปัจจัยขึ้นอยู่กับ ลักษณะภูมิประเทศ การคมนาคม เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ของท้องถิ่นนั้นและพบว่าเทคโนโลยีการก่อสร้างอาคารพักอาศัยที่เหมาะสมมีการเปลี่ยนแปลงแบบพลวัต ปัญหาและอุปสรรคในการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมคือความแตกต่างอย่างมากระหว่างระดับเทคนิคการก่อสร้างในท้องถิ่นกับระดับเทคโนโลยีวัสดุก่อสร้างที่นำเข้ามาจากภายนอก รวมทั้งขาดการจัดการองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีการก่อสร้างที่เหมาะสมในประเทศไทย
|
650 0 ^aBuilding^xTechnological innovations
|
650 0 ^aBuildings^zThailand^zSamut Prakan
|
650 0 ^aDwellingsHousing^zThailand^zSamut Prakan
|
650 7 ^aปริญญาดุษฎีบัณฑิต
|
650 7 ^aการก่อสร้าง^xนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
|
650 7 ^aอาคาร^zไทย^zสมุทรปราการ
|
650 7 ^aที่อยู่อาศัย^zไทย^zสมุทรปราการ
|
651 0 ^aSakla Village (Samut Prakan)
|
651 7 ^aหมู่บ้านสาขลา (สมุทรปราการ)
|
700 0 ^aSongkiat Teartisup
|
700 0 ^aชวลิต นิตยะ^eที่ปรึกษา
|
710 2 ^aจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.^bสาขาวิชาสถาปัตยกรรม
|
710 2 ^aจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.^bภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์
|
999 ^aThanyaporn Prempree
|