เปลี่ยนเป็นภาษาไทย

Change to English
 แสดงรายละเอียดบรรณานุกรม
  กลับหน้าหลัก

Marc Display : QR code ปิดหน้าต่าง
E-books : เกี่ยวกับ Collections
ภาพปก
 ผู้แต่ง  ชาญชัย ชัยสุขโกศล
 ชื่อเรื่อง 
1111 ศึกษากรณีอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย /
 ชื่อเรื่องที่แตกต่าง  Tecnology and nonviolent political struggle :
 เลขเรียก  323 ช26ท
 เลขเรียก  วิทยานิพนธ์
 ลักษณะทางกายภาพ  ก-ด, 591 หน้า:
 หมายเหตุ  Summary: วิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยสันติวิธีชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ปฏิบัติการไร้ ความรุนแรง” ที่ทำงานอยู่บนฐานทฤษฎีอำนาจเชิงการยินยอม กับระบบเทคโนโลยีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “อินเทอร์เน็ต” ใน ฐานะที่เป็นที่ตั้งของอำนาจเชิงโครงสร้าง เพื่อตอบคำถามหลัก 2 ประการ (1)การต่อสู้แบบไร้ความรุนแรงโดยใช้อินเทอร์เน็ตใน สังคมไทยมีลักษณะและพลวัตอย่างไร (2) อินเทอร์เน็ตไทยถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือของอำนาจในภาคส่วนต่างๆอย่างไร จะเอื้อ ต่อการต่อสู้โดยไม่ใช้ความรุนแรงมากน้อยเพียงใด คำถามดังกล่าวถูกตอบโดยการศึกษา (1) ประวัติศาสตร์การพัฒนาเชิง โครงสร้างของอินเทอร์เน็ตไทย เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับอำนาจเชิงโครงสร้างที่แฝงฝังอยู่ในระหว่างช่วงลงหลักปักฐานและช่วง ขยายตัวของอินเทอร์เน็ตไทย ผ่านมิติเชิงโครงสร้างเทคโนโลยี มิติเชิงเทคนิค และมิติเชิงสถาบัน วิธีของปฏิบัติการไร้ความรุนแรงในการจัดการกับความชอบธรรมและความยินยอมของฝ่ายต่างๆ ต่อวาระประเด็นและข้อมูลข่าวสารของกลุ่มอื่นๆได้
 หมายเหตุ  Summary: (2) ปฏิบัติการเชิงประเด็น/ เนื้อหาของกลุ่มพลังทางการเมืองหลักๆรายรอบเหตุการณ์ขับไล่รัฐบาลทักษิณ ช่วงก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่ใช้ อินเทอร์เน็ต/เว็บไซต์ในการเคลื่อนไหว เช่น เว็บผู้จัดการออนไลน์ ห้องราชดำเนินแห่งเว็บพันทิปดอทคอม เว็บมหาวิทยาลัยเที่ยง คืน และเว็บประชาไท เป็นต้น และ (3) การปิดกั้นแทรกแซงเว็บไซต์ ในฐานะที่เป็นจุดที่อำนาจเชิงโครงสร้างเข้ามาเป็นอุปสรรคทั้ง ในเชิงเทคนิคและเชิงสถาบันต่อปฏิบัติการไร้ความรุนแรง วิธีการศึกษาวิจัยมีทั้งที่เป็นการศึกษาเอกสารชั้นต้นและชั้นรอง ทั้งที่อยู่ และไม่อยู่ในอินเทอร์เน็ต และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า การต่อสู้ไร้ความรุนแรงโดยใช้อินเทอร์เน็ตของไทยมีลักษณะและพลวัต ดังนี้ (1)เหตุการณ์ขับไล่ รัฐบาลทักษิณประกอบด้วยกลุ่มพลังทางการเมือง 3 ฝ่าย คือ กลุ่มขับไล่รัฐบาล กลุ่มสนับสนุนรัฐบาล และกลุ่มไม่เอามาตรา 7 กลุ่มเหล่านี้ล้วนถือเป็นกลุ่มปฏิบัติการไร้ความรุนแรง เพราะเป็นการเคลื่อนไหวโดยไม่ใช้ความรุนแรงทางกายภาพและใช้เทคนิค
 หมายเหตุ  Summary: (2) อินเทอร์เน็ตไทยถูกนำมาใช้ เคลื่อนไหวในลักษณะ “แอ็คติวิซึม” กล่าวคือใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสื่อสาร แต่ยังไม่ถึงขั้น “แฮ็คติวิซึม” ซึ่งใช้อินเทอร์เน็ต ในเชิงเทคนิคแบบแฮ็คเกอร์เพื่อเคลื่อนไหวไร้ความรุนแรง ดังกรณีการทำอารยะขัดขืนอิเล็คทรอนิคส์ในต่างประเทศ (3) วิธีการ ของปฏิบัติการไร้ความรุนแรงที่ทั้ง 3 กลุ่มใช้นั้น เน้นหนักไปในแง่การประท้วง โน้มน้าวชักจูง การไม่ให้ความร่วมมือที่มีอยู่บ้างก็ เป็นการรณรงค์ผ่านเว็บไซต์เป็นสำคัญ ส่วนการแทรกแซงไร้ความรุนแรงมีทั้งที่เป็นการเปิดเผยข้อมูลทางเทคนิคของปฏิบัติการลับ และการป่วนทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเทคนิคที่รู้จักกันดีในหมู่นักเคลื่อนไหวไซเบอร์ทั่วโลก (4) การใช้อินเทอร์เน็ตทำให้กลุ่ม เคลื่อนไหวต้องเผชิญกับ “พลวัตทางเทคโนโลยีของปฏิบัติการไร้ความรุนแรง” โดยเฉพาะมาตรการตอบโต้ในทางเทคนิคและเชิง สถาบันจากผู้อยู่ในอำนาจ ซึ่งกุมอำนาจเชิงโครงสร้างเทคโนโลยีอยู่ในมือด้วย ท่ามกลางพลวัตนี้ มีบางกรณีที่สามารถพัฒนาต่อไป ให้กลายเป็น “การไม่ให้ความร่วมมือทางเทคนิค” และ “การแทรกแซงทางเทคนิคไร้ความรุนแรง” ซึ่งในที่นี้เรียกรวมว่าเป็น “วิธีการเชิงเทคนิคของปฏิบัติการไร้ความรุนแรง” (5) ในสถานการณ์ความขัดแย้งที่ทุกฝ่ายล้วนใช้วิธีการไร้ความรุนแรงนั้น ปัจจัยที่สร้างความได้เปรียบ คือ “ทรัพยากรไซเบอร์” อันเป็นที่มาของ “อำนาจเชิงปริมาณ” ซึ่งสามารถทำให้ใช้กลไกการ “ปิดล้อม แบบไร้ความรุนแรง” ต่อวาระประเด็นและข้อมูลข่าวสารของกลุ่มอื่นๆได้
 หัวเรื่อง  Communication in politics
 หัวเรื่อง  Internet--Political aspects
 หัวเรื่อง  Violence
 หัวเรื่อง  Power (Social sciences)
 หัวเรื่อง  ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
 หัวเรื่อง  อินเทอร์เน็ต--แง่การเมือง
 หัวเรื่อง  การสื่อสารทางการเมือง
 หัวเรื่อง  ความรุนแรง
 หัวเรื่อง  อำนาจ (สังคมศาสตร์)
 ผู้แต่งร่วม  Chanchai Chaisukkosol
 ผู้แต่งร่วม  วีระ สมบูรณ์, ที่ปรึกษา
 ผู้แต่งร่วม  อมรา พงศาพิชญ์, ที่ปรึกษาร่วม
 ผู้แต่งนิติบุคคล  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สาขาวิชารัฐศาสตร์
รายการนี้ยังไม่มีแท็ก
คุณยังไม่ได้ล็อกอิน คุณสามารถมีกิจกรรมร่วมกับเว็บไซต์ได้ แต่ต้องล็อกอินก่อน ::
  ล็อกอิน
ลำดับที่ ประเภท เลขเรียก/บาร์โค้ด สถานที่ สถานะ
1. หนังสือ
หนังสือ
วิทยานิพนธ์  
  Barcode: ASIA-B020977
ห้องสมุดสถาบันอาศรมศิลป์
►วิจัย วิทยานิพนธ์
On Shelf
  ขอยืม
   [แสดง 1/1 รายการ]

รายการใกล้เคียง
    หัวเรื่อง [Communication in politics]
    หัวเรื่อง [Violence]
    หัวเรื่อง [Power (Social sciences)]
    หัวเรื่อง [ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]
    หัวเรื่อง [การสื่อสารทางการเมือง]
    หัวเรื่อง [ความรุนแรง]
    หัวเรื่อง [อำนาจ (สังคมศาสตร์)]

BibComment


ยังไม่เคยถูกคอมเมนท์

คอมเมนท์ทรัพยากรรายการนี้
  คอมเมนท์: เทคโนโลยีกับการต..
Bib 13776

 

 
 

 Union Library Management : ULibM
Copyright 2024. All Rights Reserved.