ผู้แต่ง |
อัญญมณี บุญซื่อ |
ชื่อเรื่อง |
1111 |
ชื่อเรื่องที่แตกต่าง |
Study of transcendence of young children in play underteacher-child relationship |
เลขเรียก |
155.4 อ16 |
ลักษณะทางกายภาพ |
ก-ด, 283 แผ่น : ภาพประกอบ |
หมายเหตุ |
พิมพ์ดีด (ถ่ายสำเนา) |
หมายเหตุ |
วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
หมายเหตุ |
Summary: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)แบบแผนการเล่นที่นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ที่เหมาะที่สุดของเด็กปฐมวัย 2)แบบแผนสัมพันธภาพระหว่างครูกับเด็กที่ส่งเสริมการเล่นที่นำไปสู่ศักยภาพการเรียนรู้ที่เหมาะที่สุดของเด็กปฐมวัยและนำไปสู่การก้าวพ้นข้อจำกัดในการเล่น และ3) เงื่อนไขที่ส่งเสริมการก้าวพ้นข้อจำกัดในการเล่นวิธีการวิจัยที่ใช้คือการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บรวบรวมข้อมูลเด็กด้วยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมขณะที่เด็กเล่นอิสระและเก็บรวบรวมข้อมูลครูด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ได้ข้อค้นพบจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล2 กลุ่มคือ เด็กจำนวน 13 คนและครูจำนวน 4 คน ใน 18กรณีตัวอย่างจากกรณีศึกษาตั้งต้น 284 กรณี ข้อค้นพบของคำถามวิจัยข้อที่ 1ในเรื่องแบบแผนการเล่นที่นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ที่เหมาะที่สุดของเด็กปฐมวัย พบว่ามีประสบการณ์การเรียนรู้ 2 แบบ ประกอบด้วย 6แบบแผนการเล่นที่นำไปสู่การก้าวพ้นข้อจำกัด แบบที่ 1การก้าวพ้นข้อจำกัดในเรื่องภายในตนเอง มี 3 แบบแผน คือ 1)การริเริ่มด้วยตนเอง 2) การสื่อความคิดและ 3)ความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง แบบที่ 2การก้าวพ้นข้อจำกัดในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น มี 3 แบบแผน คือ 1)ความคิดเชิงบวก 2) การตอบสนองที่ดีกับผู้อื่น และ 3)การเห็นใจในความรู้สึกของผู้อื่น ข้อค้นพบของคำถามวิจัยข้อที่ 2ในเรื่องสัมพันธภาพระหว่างครูกับเด็กที่ส่งเสริมการก้าวพ้นข้อจำกัดพบว่า |
หมายเหตุ |
Summary: การใช้สัมพันธภาพมี 2 แบบ แบบที่ 1การสังเกตสัญญาณของเด็กทั้งในนาทีที่เกิดวิกฤติและตลอดระยะเวลาของการเล่นเป็นสัมพันธภาพแบบที่ครูใช้มากที่สุด แบบที่ 2การรักษาระยะเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กค้นพบวิธีการเล่นของตนเองซึ่งเป็นแบบที่ครูใช้มากรองลงมา ข้อค้นพบของคำถามวิจัยข้อที่ 3ในเรื่องเงื่อนไขที่ส่งเสริมการก้าวพ้นข้อจำกัดในการเล่นของเด็กปฐมวัยนั้นพบว่าการที่ครูเข้ามาทันในวิกฤตและใช้สัมพันธภาพแบบสังเกตสัญญาณของเด็กและการรักษาระยะภายใต้การได้มีเวลาเล่นกับเพื่อนสนิทที่คุ้นเคยในการเล่นประมาณหนึ่งชั่วโมงเป็นอย่างน้อยท่ามกลางบรรยากาศการเล่นที่สงบไม่พลุกพล่านมีผลต่อการก้าวพ้นข้อจำกัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสิ่งเร้าในสิ่งแวดล้อมมีความยืดหยุ่นให้ปรับเปลี่ยนวิธีการเล่นได้ในสถานการณ์ต่างๆ ยิ่งช่วยส่งเสริมการเล่นที่นำไปสู่การก้าวพ้นข้อจำกัด |
หัวเรื่อง |
Play |
หัวเรื่อง |
Child development |
หัวเรื่อง |
การเล่น |
หัวเรื่อง |
พัฒนาการของเด็ก |
หัวเรื่อง |
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
ผู้แต่งร่วม |
Anyamanee Boonsue |
ผู้แต่งร่วม |
บุษบง ตันติวงศ์, ที่ปรึกษา |
ผู้แต่งร่วม |
จุมพล พูลภัทรชีวิน, ที่ปรึกษาร่วม |
ผู้แต่งนิติบุคคล |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย |
ผู้แต่งนิติบุคคล |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาหลักสูตร การสอนและเทคโนโลยีการศึกษา |