001 12963 |
003 ULIBM |
008 180129s||||||||th 000 0 tha d |
082 14 ^a371.926 ^bช112ก
|
100 0 ^aชญาน์มญชุ์ บริวัตรประเสริฐ.
|
245 ^a ^a1111 |
246 0 ^aA study of Life Skills Development of Secondary Education Student with Down Syndrome through Cooking Activities at Roong-Aroon School
|
300 ^a257 หน้า : หน้า : หน้า :^bภาพประกอบ ;^c29 ซม.
|
500 ^a วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาแบบองค์รวม -- สถาบันอาศรมศิลป์, 2554.
|
520 ^aการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอน ผ่านกิจกรรมการประกอบอาหารและตัวชี้วัด เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา กลุ่มอาการดาวน์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย โรงเรียนรุ่งอรุณ และ 2)เพื่อทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอน ผ่านกิจกรรมการประกอบอาหารเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กที่มี ความบกพร่องทางสติปัญญา กลุ่มอาการดาวน์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย โรงเรียนรุ่งอรุณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัย คือ นักเรียนกลุ่มอาการดาวน์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย อายุระหว่าง 14-19 ปี ของโรงเรียนรุ่งอรุณ กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2553 จำนวน 3 คน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา ซึ่งแบ่งเป็น 6 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและการเตรียมตัวผู้วิจัย ระยะที่ 2 การพัฒนากระบวนการฯ ฉบับนำร่อง ระยะที่ 3 การทดลองใช้ กระบวนการฯ ฉบับนำร่อง ระยะที่ 4 การพัฒนากระบวนการฯ ฉบับทดลองใช้ ระยะที่ 5 การทดลองใช้กระบวนการฯ ฉบับทดลอง ใช้ และระยะที่ 6 การพัฒนากระบวนการฉบับสมบูรณ์ เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ 1) แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมของเด็กที่มี ความบกพร่องทางสติปัญญากลุ่มอาการดาวน์ในกิจกรรมการประกอบอาหารสำหรับครูผู้สอน 2) แบบวิเคราะห์ทักษะชีวิต 4 ทักษะ 3) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับผู้ปกครอง และ 4) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับครูประจำชั้น ใช้ระยะเวลาในการทดลอง ทั้งหมด 24 ครั้ง 8 สัปดาห์ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 คน มีการพัฒนาทักษะชีวิตเพิ่มขึ้นทุกทักษะ โดยระดับการพัฒนา แต่ละทักษะแตกต่างกันไปตาม ความสามารถและพื้นฐานของแต่ละคน ทักษะชีวิตที่พัฒนาทั้ง 6 ทักษะได้แก่ 1) ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 2) ทักษะการ ตัดสินใจ 3) ทักษะการแก้ปัญหา 4) ทักษะการสื่อสาร 5) ทักษะการมีระเบียบวินัย และ 6) ทักษะในการสามารถนำความรู้ไป ใช้ได้ในชีวิตจริง 2. กระบวนการเรียนการสอนผ่านกิจกรรมการประกอบอาหารที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1)หลักการและเหตุผล 2) จุดมุ่งหมาย 3)หลักการจัดกระบวนการเรียนการสอนฯซึ่งเน้นการจัดประสบการณ์ตรงตามหลัก 3 Rs 4)สาระการเรียนรู้ซึ่ง ประกอบด้วยความรู้ความสามารถในการประกอบอาหาร 3 ประเภทคือ การต้ม การผัดและการทอด และทักษะชีวิต 6 ทักษะ 5) บทบาทครู 6) บทบาทนักเรียน และ7) ขั้นตอน 5 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นก่อนไปตลาด (2) ขั้นจ่ายตลาด (3) ขั้นเตรียมการ (4) ขั้นลงมือปฏิบัติ และ (5) ขั้นสรุปการเรียนรู้
|
650 4 ^aกลุ่มอาการดาวน์--การประกอบอาหาร
|
650 4 ^aกิจกรรมประกอบอาหาร
|
650 04 ^aวิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาแบบองค์รวม -- สถาบันอาศรมศิลป์, 2554.
|
650 4 ^aปํญญาอ่อน ^xการศึกษา.
|
650 4 ^aการสอนด้วยสื่อ.
|
650 4 ^aการศึกษาพิเศษ ^xกิจกรรมการเรียนการสอน.
|
650 4 ^aเด็ก ^xภาษา.
|
650 4 ^aเด็กปัญญาอ่อน.
|
650 4 ^aพัฒนาการของเด็ก.
|
700 0 ^aศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ดร.อารี สัณหฉวี , ^eอาจารย์ที่ปรึกษา
|
700 0 ^aรองศาสตราจารย์ประภาภัทร นิยม, ^eอาจารย์ที่ปรึกษา
|
999 ^aThanyaporn Prempree
|