เปลี่ยนเป็นภาษาไทย

Change to English
 แสดงรายละเอียดบรรณานุกรม
  กลับหน้าหลัก

Brief Record : Get Marc (ISO 2709) : QR code ปิดหน้าต่าง
E-books : เกี่ยวกับ Collections
001    12957
003     ASIA
008    180129s||||||||th 000 0 tha d
082 14 ^a726.143^bป28ก
100 0  ^aปาสิตา ศรีสง่า.
245 ^a ^a1111
246 0  ^aThe Participatory Approach to Provide the Cohousing Community : Case study Banndeawgan Real Estate Project by Arsomsilp Institute of the Arts
500 ^a วิทยานิพนธ์ (สถ.ม. (สถาปัตยกรรมเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม) ) -- สถาบันอาศรมศิลป์ , 2556.
520    ^aงานวิจัยชิ้นนี้นำเสนอแนวทางหนึ่งในการสร้างสังคมที่มีคุณภาพในการอยู่อาศัยร่วมกัน ที่จะช่วยให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวให้ดีขึ้น มีการดูแลช่วยเหลือกันคล้ายกับครอบครัวขยายในอดีต เหมาะกับสังคมในปัจจุบันที่เป็นครอบครัวเดี่ยว สามารถรวมกลุ่มสร้างชุมชนที่มีความอบอุ่น เอื้อเฟื้อดูแลกันได้ในแนวคิดของชุมชนร่วมอยู่อาศัย (Cohousing) ที่สมาชิกทุกคนรู้จักกัน ตลอดจนสามารถช่วยกันดูแลเด็กๆในชุมชน เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่สามารถหล่อหลอมเยาวชนให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ และลดความเครียดของผู้ปกครองลงได้ ที่มีเพื่อนบ้านช่วยเหลือดูแลกัน มีความปลอดภัยสูง งานวิจัยชิ้นนี้ มุ่งศึกษาถึงปัจจัยสำเร็จที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาชุมชนร่วมอยู่อาศัยและศึกษากระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมที่มีผลต่อการพัฒนาชุมชนร่วมอยู่อาศัย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) แบ่งขั้นตอนเป็น 4 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นตอนการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ โดยศึกษาข้อมูลชุมชนร่วมอยู่อาศัยกรณีศึกษาทั้งประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อนำมาสรุปวิเคราะห์เป็นแนวทางในการดำเนินโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บ้านเดียวกัน และกำหนดกรอบกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 2)ขั้นตอนกำหนด Action Research โดยใช้กระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินการวิจัย ใช้การจัด Focus group ในกิจกรรม 3 ส่วนคือ 2.1)กระบวนการหาความต้องการร่วมและสร้างทัศนคติในการอยู่ร่วมกัน 2.2)กระบวนการออกแบบกายภาพ 2.3)กระบวนการกำหนดวิถีชีวิตในการอยู่อาศัยร่วมกัน 3)ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่ม ในโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บ้านเดียวกัน อันประกอบด้วย กลุ่มครอบครัวขยาย จำนวน 6 ครอบครัว(พี่น้อง) กลุ่มเพื่อนร่วมงาน จำนวน 4 ครอบครัว กลุ่มเพื่อนผู้ปกครอง รร.รุ่งอรุณ จำนวน 6 ครอบครัว กลุ่มบุคคลทั่วไปที่ จำนวน 3 ครอบครัว รวมทั้งหมด 4 กลุ่ม 20 ครอบครัว 4)ขั้นตอนการวิเคราะห์เปรียบเทียบและสรุปผล จาก 4 กลุ่มเป้าหมาย โดยผู้วิจัยมีบทบาทเป็นสถาปนิกดำเนินโครงการ สังเกต เก็บข้อมูล และวิเคราะห์ผลในแต่ละขั้นตอนร่วมกับทีมงานผู้ออกแบบ ผู้จัดกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมและผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ผลจากการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำเร็จที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาชุมชนร่วมอยู่อาศัยแบ่งออกเป็น 1.ปัจจัยของกลุ่มผู้อยู่อาศัย และ2.ปัจจัยในการสร้างกายภาพ 1.1 กลุ่มผู้อยู่อาศัยที่มีความเป็นไปได้ในการเกิดชุมชนร่วมอยู่อาศัยได้แก่ 1)ครอบครัวขยาย ที่ผู้นำครอบครัวมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าสำหรับรุ่นลูกและรุ่นหลาน มีแนวทางในการเลี้ยงดูที่สร้างความปรองดอง พึ่งพากัน มีการพบปะที่สม่ำเสมอ อุปสรรคที่พบบ่อยคือ ด้านการเงินที่แต่ละครอบครัวมีความพร้อมคนละช่วงเวลา 2) กลุ่มคนที่มีความเชื่อมั่นว่าอยู่ร่วมกันได้ ได้แก่ กลุ่มเพื่อนสนิท เพื่อนร่วมงาน กลุ่มร่วมแนวความคิด ซึ่งกลุ่มนี้ต้องอาศัยกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือในการละลายพฤติกรรม สร้างวัฒนธรรมในการพูดคุยอย่างตรงไปตรงมา และนำไปสู่การออกแบบพื้นที่ทางกายภาพร่วมกัน อุปสรรคที่พบบ่อยคือ การเปลี่ยนมือของสมาชิกระหว่างการพัฒนาโครงการ 1.2 ทัศนคติของผู้อยู่อาศัยในการอยู่ร่วมกัน มีความต้องการของสมาชิกที่คล้ายคลึงกัน พร้อมปรับตัวในการอยู่ร่วมกัน 1.3 การสื่อสาร การพูดคุยอย่างตรงไปตรงมา ปัจจัยที่2การสร้างกายภาพได้แก่ 2.1 ปัจจัยด้านที่ดินที่ตั้งที่เหมาะสมสำหรับสมาชิกในกลุ่ม ระยะการเดินทางหรือสิ่งอำนวยความสะดวก 2.2 ปัจจัยด้านการเงินของแต่ละครอบครัวที่มีความพร้อมทางการเงินในการสร้างบ้าน และการศึกษายังพบว่ากระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างปัจจัยสำเร็จในข้างต้น สามารถสร้างภาพการอยู่อาศัยร่วมกันของสมาชิก ทั้งในด้านรูปแบบทางกายภาพที่อยู่อาศัยและข้อตกลงด้านนามธรรม การบริหารจัดการในอนาคต สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่สมาชิกต้องการอยู่ร่วมกัน ข้อค้นพบเพิ่มเติมยังพบว่าสถาปนิกผู้ออกแบบและจัดกระบวนการมีส่วนร่วม มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาโครงการในด้านต่างๆดังนี้ ก)เป็นผู้ประสานประโยชน์ของกลุ่มผู้อยู่อาศัย ข)จัดกระบวนการรับฟังและสร้างการสื่อสารตรง ค)กระตุ้นเร้าความรับผิดชอบร่วมของกลุ่มผู้อยู่อาศัย ง)สามารถยกประเด็นพื้นที่ส่วนกลางให้เกิดขึ้นอย่างชัดเจน จ)ข้อคำนึงถึงในการออกแบบที่ส่งเสริมให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีในชุมชน เช่น พื้นที่พบปะกันอย่างไม่เป็นทางการ( Social contact design) ความสมดุลของพื้นที่ส่วนตัวและความเป็นส่วนรวม การออกแบบขนาดพื้นที่ให้รู้สึกเป็นกันเอง( Intimate Scale)
650  ั^aการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม
650  ั^aวิทยานิพนธ์--สถาปัตยกรรมศาสตร์
650 04 ^aCohousing
700  า^aรศ.ดร.วีระ สัจกุล^eอาจารย์ที่ปรึกษา.
999     ^aThanyaporn Prempree
รายการนี้ยังไม่มีแท็ก
คุณยังไม่ได้ล็อกอิน คุณสามารถมีกิจกรรมร่วมกับเว็บไซต์ได้ แต่ต้องล็อกอินก่อน ::
  ล็อกอิน
ลำดับที่ ประเภท เลขเรียก/บาร์โค้ด สถานที่ สถานะ
1. วิทยานิพนธ์ :
วิทยานิพนธ์ :
726.143 ป28ก  
  Barcode: ASIA-B022698
ห้องสมุดสถาบันอาศรมศิลป์
►สิ่งพิมพ์สถาบันอาศรมศิลป์
On Shelf
  ขอยืม
2. วิทยานิพนธ์ :
วิทยานิพนธ์ :
726.143 ป28ก ฉ.2 
  Barcode: ASIA-B022699
ห้องสมุดสถาบันอาศรมศิลป์
►สิ่งพิมพ์สถาบันอาศรมศิลป์
On Shelf
  ขอยืม
3. วิทยานิพนธ์ :
วิทยานิพนธ์ :
726.143 ป28ก ฉ.3 
  Barcode: ASIA-B022700
ห้องสมุดสถาบันอาศรมศิลป์
►สิ่งพิมพ์สถาบันอาศรมศิลป์
On Shelf
  ขอยืม
   [แสดง 3/3 รายการ]

รายการใกล้เคียง
    หัวเรื่อง [Cohousing]

BibComment


ยังไม่เคยถูกคอมเมนท์

คอมเมนท์ทรัพยากรรายการนี้
  คอมเมนท์: กระบวนการออกแบบอ..
Bib 12957

 

 
 

 Union Library Management : ULibM
Copyright 2024. All Rights Reserved.