|
|
แสดงรายละเอียดบรรณานุกรม |
|
Brief Record : Get Marc (ISO 2709) : QR code |
E-books : เกี่ยวกับ Collections |
001 12956 |
003 ULIBM |
008 180129s||||||||th 000 0 tha d |
082 14 ^a726.143^bป431ก |
100 0 ^aปรัชญา ลือชาจรัสสิน. |
245 ^a ^a1111 |
246 0 ^aThe Study of the Design Process for development and comstruction of China town District : A case study of Weangnakonkasem Community |
500 ^a วิทยานิพนธ์ (สถ.ม. (สถาปัตยกรรมเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม) ) -- สถาบันอาศรมศิลป์ , 2555. |
520 ^aย่านไชน่าทาวน์ ย่านในเขตเศรษฐกิจการค้าในยุคเริ่มต้นและยังคงความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของเมืองหลวงกรุงเทพมหานคร กำลังประสบกับการเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนาพื้นที่ให้มีระบบโครงสร้างพื้นฐานมีประสิทธิภาพรองรับการใช้งาน จากแผนการพัฒนาของกรุงเทพมหานคร และการปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะของเมือง (รฟม.) ทำให้ที่ดินในย่านนี้มีมูลค่าสูงขึ้นเพราะเกิดโอกาสของการพัฒนาที่ดินเชิงธุรกิจเพิ่มมากขึ้นทันที ชุมชนการค้าในย่านดังกล่าวซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้เช่าจึงได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินของเจ้าของที่ดิน จากการให้เช่าที่เป็นรายย่อยมาสู่การพัฒนาเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ให้ผลตอบแทนทางธุรกิจที่สูงขึ้นโดยมองข้าม ความสำคัญเชิงคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมของชุมชน ซึ่งชุมชนเวิ้งนาครเขษมก็เป็นหนึ่งในชุมชนที่ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน แต่ชุมชนเวิ้งนาครเขษมก็มีจากความต้องการที่จะรักษาที่ดินที่บรรพบุรุษได้อยู่อาศัยทำการค้า หลายชั่วอายุคนและสืบทอดจิตวิญญาณของชุมชนไว้ จึงได้ดำเนินกระบวนการสื่อสารคุณค่า สร้างความเข้าใจต่อสังคม อีกทั้งยังมีแนวคิดในการขอซื้อที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ของชุมชนเอง ด้วยแนวคิดที่จะธำรงรักษาคุณค่าทางวัฒนธรรมของเมืองที่ได้สะสมมาแต่อดีตให้คงอยู่ต่อไป แม้จะเกิดการพัฒนาเชิงธุรกิจกับผลกำไรมหาศาลก็ตาม วิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการออกแบบเพื่อพัฒนาที่ดินและรักษาคุณค่าของชุมชนเวิ้งนาครเขษมโดยใช้การมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน โดยใช้เครื่องมือทั้งการจัดกิจกรรมงานประเพณี การศึกษาดูงานและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยเริ่มต้นจากแนวความคิดของชุมชน การรวบรวมเก็บข้อมูลวิเคราะห์ปัญหา หาทางออกจนถึงการออกแบบพัฒนาพื้นที่ จากการศึกษาในเบื้องต้น พบว่าตัวแปรต้นที่ทำให้เกิดแบบพัฒนาชุมชนเพื่อการอนุรักษ์กล่าวคือ ชุมชน โดยแบ่งการปฏิบัติการออกเป็น ๒ ระยะ คือ ระยะที่ ๑ เป็นการปฏิบัติการเพื่อการเก็บข้อมูลวิเคราะห์ ทำความเข้าใจปัญหา สังเคราะห์แนวคิดและโปรแกรมการใช้งานที่เป็นคำตอบต่อปัญหา และระยะที่ ๒ เป็นการนำผลการวิจัยระยะ ที่ ๑ มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบและการตรวจสอบผลงานการออกแบบกับตัวแปรต้นอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งได้เป็นแบบที่สร้างสมดุลระหว่างพัฒนาและอนุรักษ์ชุมชน จากการดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการทั้ง ๒ ระยะ นั้น แม้ว่าสถานการณ์ของชุมชนเปลี่ยนแปลงไปโดยถูกขายให้กับเจ้าของรายใหม่ (บริษัท ทีซีซี จำกัด) ทำให้ชุมชนเวิ้งนาครเขษมยุติการพัฒนาแบบในขั้นต่อไปผู้วิจัยสามารถทำกระบวนการโดยใช้เครื่องมือนอกจากจะได้แบบแนวทางเลือกการพัฒนาและอนุรักษ์ชุมชนและจิตวิญญาณ และสามารถสรุปความรู้ที่สำคัญของการพัฒนาและการอนุรักษ์ในกระบวนการออกแบบพัฒนาชุมชนเวิ้งนาครเขษมได้ดังนี้ คือ ๑) อัตลักษณ์และความสำคัญของชุมชนย่านเมืองเก่าที่มีต่อจิตวิญญาณของเมือง ซึ่งมีทั้งประวัติศาสตร์ ความเป็นมา วิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง สถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าล้วนเป็นมรดกของเมืองที่ควรธำรงรักษาให้ตกทอดสู่ชนรุ่นหลังให้ได้ระลึกและตระหนักถึงรากฐานทางสังคมที่มั่นคงยั่งยืน ๒) ปัจจัยสำคัญที่มีต่อผลสำเร็จของโครงการ ประกอบด้วย ๓ ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยที่ ๑ คือ ชาวชุมชนผู้รักและหวงแหนในคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมของเมืองเก่า ปัจจัยที่ ๒ คือ เจ้าของที่ดินที่มีความเข้าใจในคุณค่าทั้ง ๒ ระดับ คือ ระดับการลงทุน-ผลกำไรและระดับของคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมที่สามารถเพิ่มมูลค่าและโอกาสทางการตลาดที่มิอาจลงทุนได้ด้วยเงินเพียงอย่างเดียว และปัจจัยที่ ๓ คือ บุคคลภายนอก ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิและคณะผู้ศึกษาของสถาปนิกชุมชนผู้มีทั้งความรู้ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญในการพัฒนาและอนุรักษ์เมืองเก่าซึ่งในงานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคมของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ๓) กระบวนการที่สำคัญและวิธีดำเนินโครงการที่ก่อให้เกิดผลสำเร็จของโครงการ ก็คือ กระบวนการมีส่วนร่วม ซึ่งประกอบด้วย - กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนกับผู้รู้ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสร้างวิสัยทัศน์ที่เด่นชัดร่วมกัน ผ่านกิจกรรมที่หลากหลายและการให้ข้อมูล ความรู้ฝังลึกเพื่อการเผยแพร่และสื่อสารให้สังคมตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญและจิตวิญญาณของย่านเมืองเก่า - กระบวนการร่วมเจรจาระหว่างผู้แทนชุมชนและเจ้าของที่ดินเพื่อสร้างความเข้าใจในแนวทางการสานประโยชน์สองฝ่าย - กระบวนการศึกษาและพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมของผู้วิจัย ซึ่งสร้างโอกาสมีส่วนร่วมในทุกระดับ ด้วยการใช้เครื่องมือที่หลากหลายสอดคล้องกับสถานการณ์และบริบทจริง เช่น การจัดกิจกรรมการพบปะพูดคุยการประชุมอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เวทีเสวนา กลุ่มสนทนา การจัดงานประเพณี การจัดนิทรรศการ การสร้างสื่อที่หลากหลายรูปแบบเพื่อการเผยแพร่แนวคิด |
650 ั^aการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม |
650 ั^aชุมชุนเวิ้งนาครเกษม^xการพัฒนาและการอนุรักษ์ |
650 ั^aวิทยานิพนธ์--สถาปัตยกรรมศาสตร์ |
700 า^aศรินพร พุ่มมณี^eอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม. |
700 า^aรศ.ร.อ.ชูวิทย์ สุจฉายา ร.น.^eอาจารย์ที่ปรึกษา. |
999 ^aThanyaporn Prempree |
คุณยังไม่ได้ล็อกอิน คุณสามารถมีกิจกรรมร่วมกับเว็บไซต์ได้ แต่ต้องล็อกอินก่อน :: |
|
สถานะ | |||||||||
1. | วิทยานิพนธ์ : | 726.143 ป431ก Barcode: ASIA-B020963 | ►สิ่งพิมพ์สถาบันอาศรมศิลป์ | On Shelf ขอยืม | |||||
2. | วิทยานิพนธ์ : | 726.143 ป431ก ฉ.2 Barcode: ASIA-B020964 | ►สิ่งพิมพ์สถาบันอาศรมศิลป์ | On Shelf ขอยืม | |||||
3. | วิทยานิพนธ์ : | 726.143 ป431ก ฉ.3 Barcode: ASIA-B020965 | ►สิ่งพิมพ์สถาบันอาศรมศิลป์ | On Shelf ขอยืม | |||||
4. | วิทยานิพนธ์ : | 726.143 ป431ก ฉ.4 Barcode: ASIA-B022600 | ►สิ่งพิมพ์สถาบันอาศรมศิลป์ | On Shelf ขอยืม | |||||
[แสดง 4/4 รายการ] |
BibComment |
คอมเมนท์ทรัพยากรรายการนี้ |
|