ผู้แต่ง |
ภคชาติ เตชะอำนวยวิทย์. |
ชื่อเรื่อง |
1111 |
ชื่อเรื่องที่แตกต่าง |
The Study of Architectural Design which Support the Acquisition of Sappaya in order to Design Wat Pa Vimuttayalaya |
เลขเรียก |
726.143 ภ114ก |
หมายเหตุ |
วิทยานิพนธ์ (สถ.ม. (สถาปัตยกรรมเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม) ) -- สถาบันอาศรมศิลป์ , 2554. |
หมายเหตุ |
Summary: วิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายของความสัปปายะผ่านตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมและปฏิปทาของพระเถระผู้นาการปฏิบัติธรรม และนาผลที่ได้ไปใช้ออกแบบวัดป่าวิมุตตยาลัย จากการศึกษาเบื้องต้นด้วยการทบทวนวรรณกรรม สัมภาษณ์ผู้รู้ และดูกรณีศึกษา พบว่าตัวแปรต้นที่ทาให้เกิดอาวาสสัปปายะนั้น คือ ปุคคลสัปปายะทั้ง ๒ คือ ๑.) ผู้นาทางจิตวิญญาณและ ๒.) กลุ่มสังฆะ และโคจรสัปปายะ คือ ๓.) ที่ตั้งโครงการ ผู้วิจัยจึงใช้การมีส่วนร่วมในการออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมกับผู้นาทางจิตวิญญาณและกลุ่มสังฆะของวัดป่าวิมุตตยาลัย ได้แก่ ท่าน ว.วชิร-เมธีและกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้โครงการโดยแบ่งการปฏิบัติการออกเป็น ๒ ระยะ คือ ระยะที่ ๑ เป็นการปฏิบัติการเพื่อกาหนดเกณฑ์ในการออกแบบและโปรแกรมการใช้งาน และระยะที่ ๒ เป็นการนาผลจากระยะที่ ๑ มาออกแบบให้เป็นแบบสถาปัตยกรรมในที่ตั้งโครงการจริงและนากลับมาปฏิบัติการประเมินผลและตรวจสอบกับตัวแปรต้นอีกครั้งหนึ่งด้วยกระบวนการตรวจแบบร่าง จนได้เป็นแบบสุดท้ายของวัดป่าวิมุตตยาลัยในท้ายที่สุด จากการปฏิบัติการทั้งหมด นอกจากจะได้แบบวัดป่าวิมุตตยาลัยที่เอื้อต่อความสัปปายะแล้ว ผู้วิจัยยังพบว่าอาวาสสัปปายะในกระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมนั้นมีลักษณะที่สาคัญ ๔ ประการ คือ ๑.) มีความเชื่อมโยงสอดคล้องกับปุคคลสัปปายะและโคจรสัปปายะ คือ ผู้นาทางจิตวิญญาณและที่ตั้งโครงการ กล่าวคือ หากอาวาสนั้นมีลักษณะที่เอื้ออานวยต่อปฏิปทาการสอนของผู้นาทางจิตวิญญาณแล้ว อาวาสนั้นย่อมเอื้อให้เกิดความสัปปายะได้ง่าย หรือหากอาวาสนั้นได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับที่ตั้งโครงการและส่งเสริมซึ่งกันและกันแล้วความเป็นอาวาสสัปปายะนั้นก็ย่อมเกิดขึ้นได้ง่าย (๓) เช่นกัน เพราะอาวาสหรือสถาปัตยกรรมนั้นจะมีพลังเกื้อหนุนต่อการพัฒนาทางจิตวิญญาณของผู้ใช้งานได้จริง ๒.) เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ใหม่ของสถาปนิกผู้ออกแบบ ตราบเท่าที่อาวาสสัปปายะนั้นเชื่อมโยงกับปุคคลสัปปายะและโคจรสัปปายะแล้ว สถาปนิกจึงจาเป็นต้องเข้าใจในตัวผู้นาทางจิตวิญญาณ ผู้ใช้โครงการ และที่ตั้งโครงการอย่างถ่องแท้โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันจนกระทั่งสถาปนิกแปลความหมายเชิงนามธรรมที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นรูปธรรมของสถาปัตยกกรรมได้อย่างถูกต้องโดยผ่านสู่กระบวนการออกแบบทั้งการวิเคราะห์สังเคราะห์ที่ตั้งโครงการ โปรแกรมการใช้งาน การสร้างทางเลือก และการพัฒนาแบบ ๓.) มีข้อค้นพบที่พ้องกับกรณีศึกษาอื่นๆ อาจกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะสาธารณะของอาวาสสัปปายะที่อาจจะนาไปกาหนดเกณฑ์เบื้องต้นในการออกแบบอาวาสสัปปายะได้ คือ คือ ๓.๑) ความเป็นธรรมชาติ ๓.๒.)ความสงบ สะอาด สว่าง ๓.๓.) ความงามอย่างพระ ๓.๔.) การแฝงนัยยะทางธรรม ๔.) มีลักษณะเด่นเฉพาะตัวหรือมีอัตตลักษณ์ตามปฏิปทาของผู้นาทางจิตวิญญาณ กลุ่มสังฆะ และที่ตั้งโครงการทั้งในแนวคิดและวิธีการตอบแนวคิดในการออกแบบ จากประสบการณ์ในการวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ ผู้วิจัยยังได้เรียนรู้ถึงคุณลักษณะที่พึงปรารถนาของการเป็นสถาปนิกที่เป็นส่วนสาคัญในการออกแบบสถาปัตยกรรมที่เอื้อให้เกิดความสัปปายะ ได้แก่ (๑.) การเป็นผู้เปิดใจและเอาตัวลงไปเรียนรู้ (๒.) การเป็นผู้ฟัง จับประเด็น และตั้งคาถามที่ดี (๓.) การเป็นผู้มีพละ ๕ ได้แก่ วิริยะ ศรัทธา สติ สมาธิ และปัญญา (๔.) เป็นผู้มีทักษะในการออกแบบสถาปัตยกรรม ซึ่งประกอบด้วย ความละเอียดอ่อนในการสัมผัสกับสภาพแวดล้อม การสังเกตและระบุความรู้สึกกับสภาพแวดล้อม การสังเคราะห์เป้าหมายในการออกแบบ และการแปรนามธรรมให้เป็นรูปธรรมทางสถาปัตยกรรม |
หัวเรื่อง |
การออกแบบอย่างมีส่วนร่วม |
หัวเรื่อง |
ั--วัดป่าวิมุตตยาลัย--การออกแบบสถาปัตยกรรม |
หัวเรื่อง |
ั--สัปปายะในงานสถาปัตยกรรม |
หัวเรื่อง |
ั--วิทยานิพนธ์--สถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ผู้แต่งร่วม |
า ธิป ศรีสกุลไชยรัก, อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม. |
ผู้แต่งร่วม |
า ประภาภัทร นิยม อาจารย์ที่ปรึกษา. |