ผู้แต่ง |
ธนา อุทัยภัตรากูร. |
ชื่อเรื่อง |
1111 |
ชื่อเรื่องที่แตกต่าง |
The Study of Design and Construction Process for Bamboo Architecture : A case study of Bamboo Arts Gallery , Arsomsilp Institute of the Arts |
เลขเรียก |
726.143 ธ231จ |
หมายเหตุ |
วิทยานิพนธ์ (สถ.ม. (สถาปัตยกรรมเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม) ) -- สถาบันอาศรมศิลป์ , 2558. |
หมายเหตุ |
Summary: วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการจากการดำเนินการออกแบบและก่อสร้างอาคารหอศิลป์ไม้ไผ่ สถาบันอาศรมศิลป์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการออกแบบและก่อสร้างอาคารไม้ไผ่ที่สอดคล้องกับบริบทปัจจุบัน รวมทั้งทดลองปฏิบัติการและถอดองค์ความรู้ เกี่ยวกับการออกแบบและก่อสร้างอาคารไม้ไผ่ ในกรณีศึกษา หอศิลป์ไม้ไผ่ สถาบันอาศรมศิลป์ จากการปฏิบัติการทั้งหมด นอกเหนือจากการออกแบบและก่อสร้างอาคารหอศิลป์ไม้ไผ่ที่แสดงถึงศักยภาพของวัสดุในการนำมาใช้ในการก่อสร้างแล้ว ผู้วิจัยพบว่า องค์ความรู้ที่สำคัญในการออกแบบและก่อสร้างอาคารไม้ไผ่ที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากการก่อสร้างอาคารด้วยวัสดุอุตสาหกรรมโดยทั่วไป แบ่งออกเป็น 4 ข้อ ซึ่งสามารถที่จะใช้เป็นฐานในการรวบรวมองค์ความรู้ในการก่อสร้างอาคารไม้ไผ่ในอนาคต ได้แก่ 1. พันธุ์ไผ่ที่ใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งขึ้นอยู่กับ 1) พันธุ์ไผ่ที่สามารถจัดหาได้ในแต่ละพื้นที่ 2) ประสบการณ์ความคุ้นเคยของช่างก่อสร้าง และ 3) คุณสมบัติเชิงกลของไม้ไผ่ ว่าจะเหมาะสมกับการนำไปใช้ในส่วนใดของอาคาร ในกรณีหอศิลป์ไม้ไผ่ ใช้ไม้ไผ่ในการก่อสร้างทั้งหมด 3 พันธุ์ ได้แก่ ไผ่ตง ไผ่ซางหม่น และไผ่รวกดำ 2. กระบวนการออกแบบอาคารไม้ไผ่ ผู้วิจัยพบว่า กระบวนการออกแบบโดยการทำแบบจำลองด้วยไม้ไผ่เป็นกระบวนการที่เหมาะสม เนื่องจากจะช่วยทำให้สถาปนิกได้มองเห็นความสามารถในการดัดโค้ง ระบบโครงสร้าง ไปจนถึงขั้นตอนในการก่อสร้าง อีกทั้งยังสามารถนำแบบจำลองนี้ไปใช้ในการสื่อสารกับช่างและวิศวกร จากนั้นเมื่อทราบพันธุ์ไผ่ที่ใช้แล้วจึงทำการทดสอบคุณสมบัติเชิงกลของไผ่ที่จะนำมาใช้ (ในกรณีที่ยังขาดข้อมูลคุณสมบัติเชิงกลของไผ่พันธุ์นั้น ๆ) เพื่อนำไปคำนวณทางวิศวกรรม โดยในกรณีหอศิลป์ไม้ไผ่ได้ใช้โปรแกรม SAP 2000 ซึ่งทำให้เห็นจุดอ่อนของโครงสร้างและทำการแก้ไขได้ 3. กระบวนการเตรียมการก่อสร้าง เป็นขั้นตอนที่มีผลต่องบประมาณการก่อสร้างในภาพรวม โดยเฉพาะการจัดเตรียมไม้ไผ่ ซึ่งปัจจัยที่ส่งผล ได้แก่ ระยะทางจากแหล่งที่มาของไม้ไผ่ วิธีการรักษาเนื้อไม้ และจำนวนครั้งในการจัดซื้อไม้ไผ่ 4. กระบวนการก่อสร้าง การก่อสร้างด้วยไม้ไผ่ซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติ ซึ่งทุกลำมีความแตกต่างกัน ทำให้การก่อสร้างต้องปรับไปตามคุณสมบัติของไผ่ที่มี เช่น การกำหนดความโค้งของอาคารขึ้นอยู่กับความสามารถในการดัดโค้งของไผ่ที่ใช้ เนื่องจากในประเทศไทยยังขาดองค์ความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับการออกแบบและก่อสร้างอาคารไม้ไผ่ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้โครงการนี้สำเร็จคือทักษะและองค์ความรู้ของช่างผู้มีประสบการณ์ ซึ่งสามารถระบุพันธุ์ไผ่ที่ใช้ กระบวนการออกแบบ และประเมินความเป็นไปได้ในการก่อสร้างในเบื้องต้น ซึ่งควรที่จะนำองค์ความรู้เหล่านี้ตรวจสอบ และพัฒนาเพื่อให้เกิดความรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงต่อไป |
หัวเรื่อง |
ไผ่ |
หัวเรื่อง |
ั--วิทยานิพนธ์--สถาปัตยกรรมศาสตร์ |
หัวเรื่อง |
ไผ่--กระบวนการก่อสร้าง |
ผู้แต่งร่วม |
า รศ.ดร.วีระ สัจกุล อาจารย์ที่ปรึกษา. |