ผู้แต่ง |
จุฤทธิ์ กังวานภูมิ. |
ชื่อเรื่อง |
1111 |
ชื่อเรื่องที่แตกต่าง |
An Evaluation of the Participatory Redevelopment of Wat MangKorn Kammalawat MRT station s Surrounding Area and Yaowarat |
เลขเรียก |
726.143 จ493ก |
หมายเหตุ |
วิทยานิพนธ์ (สถ.ม. (สถาปัตยกรรมเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม) ) -- สถาบันอาศรมศิลป์ , 2555. |
หมายเหตุ |
Summary: ย่านสำเพ็งหรือย่านเยาวราชเป็นย่านเก่าในเมืองชั้นในของกรุงเทพมหานคร กำลังประสบความเปลี่ยนแปลงจากการขยายโครงข่ายส่วนเชื่อมต่อรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน (ช่วงหัวลำโพง-บางแค) ต่อเนื่องมาจากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินหัวลำโพง จึงเป็นที่มาของการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินวัดมังกรกมลาวาสบนถนนเจริญกรุง อันเป็นสาเหตุให้เจ้าของที่ดิน 2 ราย ได้แก่ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และ มูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ ให้ความสนใจที่จะพัฒนาที่ดินของตนที่มีอาณาเขตพื้นที่ติดต่อกับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินวัดมังกรกมลาวาส จึงได้ร่วมกันจัดตั้งให้สถาบันอาศรมศิลป์ทำการศึกษาวิจัยในหัวข้อ การศึกษาแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมในการพื้นฟูและพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินวัดมังกร-กมลาวาส และพื้นที่เยาวราช ในช่วงเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2552 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลการศึกษาดังกล่าวไปสู่การกำหนดแนวทางในการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อย่างเหมาะสมที่สอดคล้องกับความต้องการของเจ้าของที่ดินและชุมชนอย่างมีส่วนร่วม อย่างไรก็ตามโครงการศึกษาฯดังกล่าวไม่สามารถบรรลุผลการศึกษาตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เนื่องจากเกิดความขัดแย้งและการต่อต้านผลการศึกษาจากโครงการศึกษาฯของชุมชนในพื้นที่ศึกษา วิทยานิพนธ์นี้มุ่งหวังที่จะศึกษาถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้โครงการไม่บรรลุผล เรียนรู้ข้อบกพร่องของการดำเนินโครงการ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการปรับบทบาทของผู้มีส่วนได้เสียและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและกระบวนการทำงานในการพัฒนาย่านอย่างมีส่วนร่วม จากการทบทวนการดำเนินงานของโครงการศึกษาฯ กรณีศึกษาต่างๆ และทำการสรุปความรู้จากโครงการศึกษาฯร่วมกับชุมชนและนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อแนวทางการพัฒนาพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม เพื่อตั้งข้อสังเกตถึงการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาย่าน และระบุเหตุปัจจัย หรือบทบาทของผู้มีส่วนได้เสียและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ส่งผลให้โครงการศึกษาฯไม่บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลที่ได้จากการวิจัยพบว่า ทุกฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสียและมีส่วนเกี่ยวข้องจำเป็นต้องมีการปรับบทบาทของตน โดยเจ้าของที่ดินควรมีความจริงใจในการแก้ปัญหาและเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการศึกษาฯให้มากขึ้นโดยมีส่วนร่วมในการประชุมร่วมกับชุมชนหรือเป็นส่วนหนึ่งของคณะทำงานในพื้นที่ ชาวชุมชนต้องตระหนักถึงความสำคัญของตนต่อย่านและเมือง และมีการรวมตัวกันอย่างเป็นเอกภาพ ในขณะที่คณะผู้ศึกษาควรลดบทบาทลงเป็นเพียงผู้ให้ความรู้และฝ่ายสนับสนุนการปฏิบัติการต่างๆของชุมชน อีกทั้งการหาแนวทางในการพัฒนาที่ดินร่วมกันในลักษณะนี้จำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างและกระบวนการทำงาน ให้มีตัวแทนครอบคลุมจากทุกฝ่าย ให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการระบุปัญหาและเสนอแนวทางแก้ไข รวมทั้งมีการทำประชาพิจารณ์เมื่อต้องหาข้อสรุปหรือรับรองผลการศึกษาในอนาคต จากประสบการณ์ในการดำเนินงานนี้ ทำให้ผู้ทำวิทยานิพนธ์ได้เรียนรู้บทบาทของสถาปนิกชุมชนในการทำงานด้านการพัฒนาเมืองร่วมกับชุมชนและเจ้าของที่ดิน ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความไว้วางใจ และกระบวนการมีส่วนร่วมในการคลี่คลายปัญหาร่วมกัน เพื่อรักษาคุณค่าและความสำคัญของย่านเก่าที่มีต่อเมืองไว้ และยังสามารถนำไปสู่การลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้จากแนวทางการประสานประโยชน์ระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียร่วมกันอีกด้วย |
หัวเรื่อง |
วัดมังกรกมลาวาส |
หัวเรื่อง |
การฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ |
หัวเรื่อง |
กระบวนการมีส่วนร่วม--การประเมิน |
หัวเรื่อง |
วิทยานิพนธ์--สถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ผู้แต่งร่วม |
รศ.ร.อ.ชูวิทย์ สุจฉายา ร.น. อาจารย์ที่ปรึกษา. |