ผู้แต่ง |
โกเมน อ้อชัยภูมิ. |
ชื่อเรื่อง |
1111 |
ชื่อเรื่องที่แตกต่าง |
The Study of the Progress of the Achievement and Attitude in Mathematics of the Students who have lower Attainment of sixth Grade after Learning through Brain -Base Learning management |
เลขเรียก |
510.7 ป467ก |
หมายเหตุ |
วิทยานิพนธ์ (ศมบ. (การศึกษาองค์รวม)) -- สถาบันอาศรมศิลป์ , 2554. |
หมายเหตุ |
ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต |
หมายเหตุ |
Summary: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คณิตศาสตร์ต่ำ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผ่านการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง 2. เพื่อศึกษาเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำใน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผ่านการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง 3. เพื่อศึกษาพัฒนาการของเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คณิตศาสตร์ต่ำในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผ่านการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง 4. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของ นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผ่านการจัดการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนคณิตศาสตร์ต่ำ โรงเรียนรุ่งอรุณ ปีการศึกษา 2553 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษา เอกชน จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยเลือกตัวอย่างประชากร โดยเทคนิคการสุ่มแบบเจาะจง(Purposive sampling) เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มที่มี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำ โรงเรียนรุ่งอรุณ ปีการศึกษา 2553 จำนวน 24 คน ซึ่งมีเครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ แบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ และแบบสังเกตเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยด้วยค่าสถิติโดยคำนวณค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัชฌิมเลขคณิตร้อยละ และค่าที ( t-test) ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนที่มีผลการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำ ในระดับ ชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๖ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .00 ซึ่งสูงกว่าระดับนัยสำคัญที่ตั้งไว้ที่ .05 แสดงว่าผลการเรียนคณิตศาสตร์ ทั้งสองช่วงแตกต่างกันอย่าง เชื่อถือได้ 2. เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนที่มีผลการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำ ในระดับชั้นประถม ศึกษาปีที่ ๖ ก่อน และหลังการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 แสดงว่าเจตคติ ของนักเรียนทั้งสองแตกต่างกันอย่างเชื่อถือได้ 3. เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนที่มีผลการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำ ในระดับชั้นประถม ศึกษาปีที่ ๖ หลัง การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง มีเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ในระดับมาก และมี พฤติกรรมที่แสดงออกถึงเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ คือเริ่มสัปดาห์ที่หนึ่ง พฤติกรรมที่แสดงออกถึงเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในระดับน้อย จนกระทั้งสัปดาที่ห้ามี พฤติกรรมที่แสดงออกถึงเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ขึ้นไปสู่ในระดับปานกลาง 4. ความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ กับเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนที่มีผล การเรียนคณิตศาสตร์ต่ำ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ หลังการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง เป็นปฎิภาคตรงในระดับต่ำมาก |
หัวเรื่อง |
คณิตศาสตร์ --Brain-Base Learning. |
หัวเรื่อง |
คณิตศาสตร์ --การศึกษาและการสอน. |
หัวเรื่อง |
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน |
หัวเรื่อง |
วิทยานิพนธ์ |
ผู้แต่งร่วม |
ทัศนีย์ ผลเนืองมา, อาจารย์ที่ปรึกษา. |
ผู้แต่งร่วม |
น้อม งามนิสัย, อาจารย์ที่ปรึกษา. |