ผู้แต่ง |
จิราพร จิวานุวงศ์ |
ชื่อเรื่อง |
1111 |
ชื่อเรื่องที่แตกต่าง |
Living Museum : Case Study of Community on Pakprak Road ,Kanchanaburi |
เลขเรียก |
726.143 จ533พ |
หมายเหตุ |
วิทยานิพนธ์ (สถ.ม. (สถาปัตยกรรมเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม) ) -- สถาบันอาศรมศิลป์ , 2559. |
หมายเหตุ |
Summary: วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและศึกษาการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตปากแพรก โดยดำเนินการผ่านกระบวนการทดลองตั้งโจทย์ เก็บข้อมูลและทำกิจกรรมซึ่งเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผู้วิจัยพบว่า องค์ประกอบของพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. งบประมาณ 2. สถานที่ 3. ประวัติศาสตร์ 4. ผู้คน และ 5. กิจกรรม ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้มีความคาดหวังว่า แนวความคิดพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตจะเป็นตัวผลักดันปากแพรกไปสู่การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและฟื้นฟูชุมชนต่อไป อีกทั้งยังเป็นแนวทางการพัฒนาชุมชน สภาพแวดล้อม และความเป็นเมืองทางประวัติศาสตร์ให้ร่วมสมัยและดำรงอยู่อย่างยั่งยืน จากกระบวนการของกิจกรรมที่เปิดให้ทั้งคนในและคนนอกชุมชนมีส่วนร่วม ผู้วิจัย พบว่า สามารถสัมผัสถึงความภาคภูมิใจของคนในพื้นที่จากการบอกเล่าเรื่องราวของตนเองและชุมชน รวมทั้งต้องการรักษาบรรยากาศแบบดั้งเดิมไว้ แต่สิ่งที่เป็นข้อท้าทายต่อความสำเร็จของโครงการพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตในพื้นที่ คือ การสร้างกระบวนการในการสื่อสารและการทำงานเพื่อตั้งเป้าหมายร่วมกันระหว่างเทศบาลเมืองฯ กับคนในท้องถิ่น และผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วมและทำความเข้าใจกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลเป็นลำดับ ดังนี้ 1. การรับฟังเสียงซึ่งกันและกันมากขึ้น 2. ส่งเสริมทัศนคติที่ดี (รู้คุณค่าในสิ่งที่ต้องไปเกี่ยวข้อง) ในการทำหน้าที่ต่อตนเองและต่อสังคม 3. สนับสนุนให้เกิดผู้นำที่แท้ขึ้นจากทั้งสองฝ่าย 4. ทำให้เกิดความต่อเนื่องด้านนโยบายของฝ่ายบริหารของเทศบาลเมืองฯ ในแต่ละสมัย |
หัวเรื่อง |
พิพิธภัณฑ์ |
หัวเรื่อง |
ั--วิทยานิพนธ์--สถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ผู้แต่งร่วม |
า รศ.สุพัฒน์ บุญยฤิทธิกิจ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม. |
ผู้แต่งร่วม |
า รศ.ร.อ.ชูวิทย์ สุจฉายา ร.น. อาจารย์ที่ปรึกษา. |